อาเซียน 4.0

 อาเซียน 4.0 
Thailand4.0
ประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมา มีการพัฒนาเศรษฐกิจตั้งแต่Thailand 1.0 ที่เน้น ภาคการเกษตร     มาเป็นThailand 2.0 ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา และThailand 3.0 ในปัจจุบัน ที่เน้นอุตสาหกรรมหนัก
แต่Thailand 3.0 ต้องเผชิญกับกับดักของประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ที่ไม่อาจนำพาประเทศพัฒนาไปมากกว่านี้ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการปฎิรูปเศรษฐกิจของประเทศอย่างจริงจัง และนำพาประเทศไปสู่Thailand 4.0
โดยจะมีการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในมิติต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่
-          จากสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าที่มีนวัตกรรม
-          เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ หรือ smart farming 
-          การเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมหนักไปสู่ภาคบริการ
-          เปลี่ยนจาก SME แบบดั้งเดิม ไปสู่ smart SME และ startup
-          การเปลี่ยนจากภาคบริการแบบดั้งเดิมไปสู่ภาคบริการที่มีมูลค่าสูง
-          และการเปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีทักษะสูง
 นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยจาก 3.0 ไปสู่ 4.0 ประกอบด้วย องค์ความรู้  ความคิดสร้างสรรค์  นวัตกรรม  วิทยาศาตร์  เทคโนโลยี  และ R&D
ซึ่งในแต่ละเรื่อง ก็มีรายละเอียดมากมายหลายประการ ที่ประเทศไทยจะต้องรีบดำเนินการ ตัวอย่างเช่น เรื่อง เทคโนโลยี สามารถแบ่งออกเป็นเทคโนโลยีในด้านต่างๆได้ดังนี้
-          ด้านอาหารและเกษตร มีเทคโนโลยีที่สำคัญได้แก่biotech foodtech และ agritech
-          ด้านสุขภาพ  healthtech และ meditech
-          ด้านการบริการ  designtech และ traveltech
-          ด้านหุ่นยนต์robotech
-          และด้านเศรษฐกิจดิจิทัลfintech edtech e-marketplace และ e-commerce

อาเซียน 4.0
ส่วนการขับเคลื่อนอาเซียน4.0เป็นการขับเคลื่อนจากความร่วมมือกันระหว่าง 10 ประเทศสมาฃิกอาเซียน ที่จะเปลี่ยนจากอาเซียน 3.0 เป็น อาเซียน 4.0 โดยแผนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2025 หรือ AEC Blueprint 2025 ได้เน้นความร่วมมือทางด้านการเกษตร สุขภาพ ดิจิทัล ภาคบริการ การพัฒนา SME และแรงงาน โดยเน้นปัจจัย R&D วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งนวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ ในการขับเคลื่อนไปสู่อาเซียน 4.0  
  สำหรับมาตรการในเชิงยุทธศาสตร์ของอาเซียน 4.0 คือ
-          การสร้างหุ้นส่วนทางด้านยุทธศาตร์ ระหว่างสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย และภาคเอกชน ในภูมิภาคอาเซียน
-          สร้างความสามารถทางการแข่งขันให้กับ SME ในอาเซียน ด้วยการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
-          และเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์ของอาเซียน ให้มีความคิดสร้างสรรค์ ชาญฉลาด และมีความคล่องตัว
นวัตกรรมอาเซียน
สำหรับความร่วมมือของอาเซียนในการเสริมสร้างนวัตกรรมนั้น ใน AEC Blueprint 2025 กำหนดมาตรการต่างๆไว้อย่างละเอียด โดยมาตรการสำคัญมีดังนี้
-          เสริมสร้างการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการสร้างเครือข่ายในระดับมหาวิทยาลัย และระดับภาคเอกชนของอาเซียน
-          ส่งเสริมสภาวะแวดล้อมในเชิงนโยบายภายในอาเซียน เพื่อเอื้อให้เกิดการถ่ายโอนเทคโนโลยีและการเสริมสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ
-          ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งอุทยานวิจัยและเทคโนโลยี รวมทั้งห้องทดลองเพื่อการวิจัยของมหาวิทยาลัย รัฐบาล และบริษัทร่วมทุน รวมทั้งศูนย์การวิจัยและพัฒนาในอาเซียน
-    พัฒนาและเสริมสร้างความเชื่อมโยงของอาเซียนกับเครือข่ายการวิจัยพัฒนาในระดับโลกและในระดับภูมิภาค
-          ส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาในภูมิภาคอาเซียนให้เข้มแข็งขึ้น
-    ส่งเสริมโครงการที่มีการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของอาเซียนในห่วงโซ่มูลค่าโลกและภูมิภาคและเครือข่ายการผลิต
-          ดึงดูดบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีให้เข้ามาประกอบการในภูมิภาคอาเซียน


เศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน
          สำหรับความร่วมมือของอาเซียนในด้านเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น ใน AEC Blueprint 2025 ระบุถึงมาตรการความร่วมมือระหว่าง 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน ไว้อย่างละเอียดเช่นเดียวกัน อาทิ
-          พัฒนาเศรษฐกิจและส่งเสริมการค้าในรูปแบบดิจิทัล หรือ digital tradeในอาเซียน
-          เพิ่มการขยายเครือข่ายและการใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงให้ทั่วถึงในอาเซียน
-          ส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพสำหรับแรงงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในอาเซียน
-          ส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศในตลาดร่วม ด้วยการส่งเสริมการเคลื่อนย้ายเสรีของสินค้า บริการ และการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศภายในภูมิภาคอาเซียน
-          สนับสนุนการเติบโตและการใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์หรือ e - services ในภูมิภาค
-          ส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคง ปลอดภัย ทางไซเบอร์ หรือ cyber security ในอาเซียนให้มากขึ้น
-          ส่งเสริมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือ e-commerce ในอาเซียน ซึ่งเรื่องนี้มีความสำคัญมากเพราะ e-commerce จะสนับสนุนบูรณาการทางเศรษฐกิจของอาเซียน อาเซียนมีข้อตกลงในด้านนี้มาตั้งแต่ปี 2000 ซึ่งเรียกว่า e-ASEAN FrameworkAgreement และในอนาคตอาเซียนมีแผนจะจัดทำข้อตกลงอาเซียนทางด้าน e-commerce โดยเฉพาะ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาเซียน
          ใน AEC Blueprint 2025 มีมาตรการหลายเรื่องในการสร้างความร่วมมือทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่าง 10 ประเทศอาเซียน เพื่อผลักดันให้อาเซียนพัฒนาไปสู่อาเซียน 4.0 โดยมาตรการสำคัญได้แก่
-          การจัดทำแผนปฎิบัติการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ( ASEAN Plan Of Action on Science Technology and Innovation : APASTI )
-          เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอาเซียน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือแบ่งปันสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการวิจัยและบุคลากร เพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีร่วมกัน
-          ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยผ่านโครงการแลกเปลี่ยนต่างๆ

Thailand 4.0 กับ อาเซียน 4.0
          จากที่ได้วิเคราะห์ข้างต้น จะเห็นได้ว่า ขณะนี้กำลังมีพัฒนาการที่คู่ขนานกันระหว่าง Thailand 4.0 กับ อาเซียน 4.0 ผมจึงอยากจะขอเสนอว่า ไทยจะได้ประโยชน์อย่างมาก จากความร่วมมือกับ 10 ประเทศอาเซียนในด้านต่างๆดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ความร่วมมือในกรอบอาเซียนจะเป็นอีกแรงหนึ่ง ในการขับเคลื่อนประเทศไทยจาก Thailand 3.0 ไปสู่ Thailand 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และยั่งยืนขึ้น ไทยจึงควรกำหนดยุทธศาสตร์ในการสร้างความร่วมมืออาเซียนในด้านต่างๆเหล่านี้ และมียุทธศาสตร์ในเชิงรุก เสนอแนวคิดใหม่ๆ เพื่อให้ไทยมีบทบาทนำในอาเซียน 4.0
          นอกจากนี้ ผมยังมองว่า หากเราประสบความสำเร็จในการนำพาประเทศไปสู่Thailand4.0 ได้แล้ว ไทยจะอยู่ในสถานะที่จะได้ประโยชน์อย่างมาก จากการปฏิสัมพันธ์ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ตัวอย่างเช่น
-          หากไทยพัฒนาสินค้าเป็นสินค้าที่มีนวัตกรรมสูง เราจะสามารถส่งออกไปในตลาด AEC ได้มากขึ้น
-          หากไทยพัฒนาเกษตรกรรมไปเป็น smart farming สินค้าอาหารและเกษตรของไทยจะสามารถตีตลาดอาเซียนได้มากขึ้น และไทยจะสามารถไปลงทุนสร้าง smart farmingให้เกิดขึ้นในประเทศเพื่อนบ้านได้อีกมาก 
-          เช่นเดียวกับการค้าภาคบริการ โดยเฉพาะการให้บริการด้านสุขภาพ ไทยจะกลายเป็น medical hubซึ่งมีโอกาสที่จะทำธุรกิจในด้านนี้กับประเทศเพื่อนบ้านอีกมาก
-          สำหรับ SME เมื่อเป็นThailand 4.0 แล้ว SME ของไทยจะกลายเป็น smartSMEซึ่งจะทำให้ SME ของไทยมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น ในการที่จะผลิตสินค้าส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านด้วย
-          นอกจากนี้ การพัฒนาแรงงานไทยไปสู่แรงงานมีฝีมือขั้นสูง จะทำให้แรงงานไทยมีความสามารถในการแข่งขันใน AEC ได้อย่างมั่นคง
-          และเมื่อเราเป็นThailand 4.0 เศรษฐกิจไทยจะเป็นเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ไทยได้ทำธุรกิจดิจิทัลกับประเทศอาเซียนได้อีกมากเช่นกัน

ไทยแลนด์ 4.0 กับการเป็น hub ของอาเซียน 4.0
          นอกจากนี้ ผมขอเสนอว่า ยุทธศาสตร์ของไทยต่ออาเซียน 4.0 ควรจะมองไปถึงขั้นที่เราจะเป็นศูนย์กลางในด้านต้างๆของอาเซียน 4.0 หรือเป็น hub ของอาเซียน 4.0 นั่นเอง แม้ว่าในบางเรื่อง เราอาจจะสู้สิงคโปร์และมาเลเซียไม่ได้ แต่ไทยก็ควรจะมีความฝันและสานฝันให้เป็นจริง ความฝันของเราคือ เราจะเป็น hub ของอาเซียน 4.0 ในด้านต่างๆดังนี้
-          knowledge hub
-          innovation hub
-          R&D hub
-          science & technology hub
-          digital hub
-          services hub
กล่าวโดยสรุป การเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่Thailand 4.0 จะเป็นการก้าวกระโดดที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศ และจะนำพาประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศร่ำรวยและพัฒนาแล้ว
 เช่นเดียวกัน การเปลี่ยนผ่านไปสู่อาเซียน 4.0 จะคู่ขนานกันกับThailand 4.0 ซึ่งไทยจะได้ประโยชน์อย่างมาก จากความร่วมมือในกรอบอาเซียนในด้านต่างๆ โดยเฉพาะ ด้านการสร้างนวัตกรรมและเศรษฐกิจดิจิทัล
รัฐบาลจึงจะต้องมียุทธศาสตร์ชัดเจน พร้อมผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางของอาเซียน 4.0 ผ่านการฝึกอบรม การทำวิจัยเกี่ยวกับอาเซียน ตลอดจนการเป็นศูนย์ข้อมูลอาเซียน 4.0 พัฒนาคลังสมองด้านอาเซียน และเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาและการวิจัย เพื่อพัฒนาให้คนไทยก้าวไกลสู่อาเซียน 4.0 และผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของอาเซียน 4.0 ในอนาคตต่อไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การศึกษาเด็กไทยในยุค Thailand 4.0

เด็กไทย4.0คืออะไร

เยาวชนไทยควรปรับตัวอย่างไร กับ Thailand 4.0